การพัฒนาที่ยั่งยืน

การพัฒนาที่ยั่งยืน

สิ่งแวดล้อม

บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และมุ่งมั่นที่บรรเทาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ รวมถึงจัดให้มีกลไกในการจัดการเรื่องด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ

บริษัทฯ พัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการด้วยนวัตกรรมสีปลอดภัยต่อชีวิตและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Greenovation) และมีส่วนช่วยลดการใช้พลังงาน อีกทั้งตอบสนองผู้บริโภคด้วยความรับผิดชอบ ภายใต้แนวคิดนวัตกรรมสีปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมาตรฐานการรับรองผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ

TOA Greenovation
  Clean
ลดสารเคมีที่เป็นอันตราย
Green
ดีต่อสุขภาพและ
สิ่งแวดล้อม
Save
คุ้มค่าและประหยัดพลังงาน
Raw Material
  • Zero Heavy Metal
  • Non-Isocyanate
  • Transform Solvent base to Water base
  • APEO Free, Ammonia Free
  • Formaldehyde Free
  • Near “0” VOCs
  • Bio base material
  • Low Oder, Low Emission
  • Less Solvent
  • Anti Bacteria/Virus
  • Energy Saving (Heat Insulator, IR Reflective)
  • Super Durable
  • Single Component
  • Reuse/Reduce/Recycle
  • Easy to use
  • Reduce Application Time
Process
  • Zero Heavy Metal
  • Reduce Emission
  • Reduce Dust
  • Waste Management
  • Automation
  • Reuse/Reduce/Recycle
  • Increase efficiency

บริษัทฯ ได้แต่งตั้งทั้งคณะกรรมการและคณะทำงานจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร โดยในปี 2564 บริษัทฯ ได้รับการรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization) จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) โรงงานบางนา และปี 2565 โรงงานสำโรง

สำหรับปี 2565 นี้ บริษัทคงเดินหน้าพัฒนาธุรกิจคาร์บอนต่ำอย่างต่อเนื่อง สู่อุตสาหกรรมสีเขียวแบบครบวงจร ใส่ใจเรื่องพลังงานหมุนเวียนและพลังงานทางเลือกต่าง ๆ โดยเฉพาะพลังงานจากแสงอาทิตย์ จึงได้ติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคาอาคาร (Solar Rooftop) ที่โรงงานบางนา มาทดแทนการใช้ไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม

นอกจากนี้ ยังได้ตั้งเป้าการขึ้นทะเบียนเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร ( Carbon Footprint for Organization) และการขึ้นทะเบียนคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Product) ให้เสร็จในปี 2565

หน่วย: ตัน CO2e

ข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 2563 2564*
ทางตรง (Scope 1) 8,534.24 8,455.54
ทางอ้อมจากการใช้พลังงาน (Scope 2) 8,283.10 8,651.11
ทางอ้อมอื่นๆ (Scope 3) 158.24 30,443.00
รวม 16,975.58 47,549.65

หมายเหตุ: * ข้อมูลปี 2564 เป็นการคิดรวมโรงงานบางนาและโรงงานสำโรง (ปี 2563 คำนวนเฉพาะโรงงานบางนา) และใช้วิธีการประเมินใหม่ตามข้อบังคับขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ที่ให้พิจารณา Scope 3 เพิ่มขึ้นจากเดิม

บริษัทฯ ได้มีการดำเนินมาตรการอนุรักษ์พลังงานอย่างต่อเนื่องทุกปี และมีกิจกรรมให้พนักงานได้ร่วมประเมินการจัดการพลังงานขององค์กรเพื่อสร้างและส่งเสริมจิตสำนึกการใช้พลังงานและการอนุรักษ์พลังงาน

เป้าหมาย
ลดการใช้พลังงานจากการดำเนินมาตรการประหยัดพลังงานด้วยเทคโนโลยี คิดเป็น 1.5% ต่อปีหรือ 190,000 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี (kWh/year) จากปีฐาน 2564
ดำเนินโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดยภายในปี 2568 จะต้องมีการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ไม่น้อยกว่า 3,500,000 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี (kWh/year) หรือคิดเป็นประมาณ 17% ของการใช้พลังงานทั้งหมด จากปีฐาน 2564
ดำเนินกิจกรรมลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ให้ได้ 2,700 ตันCO2e ภายในปี 2568 จากปีฐาน 2564

ในปี 2564 ได้กำหนดเป้าหมายการประหยัดพลังงาน 1.5% (193,065 kWh/ปี) เมื่อเทียบกับการใช้พลังงานรวมในปี 2563 (14,628,028 kWh./ปี) โดยบริษัทฯ สามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ 349,112 กิโลวัตต์-ชั่วโมง/ปี ซึ่งบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมในทุกกระบวนการผลิต มีการพัฒนานวัตกรรมกระบวนการผลิตที่ลดการใช้น้ำ (ระบบ Pigging) บำรุงรักษาระบบน้ำประปา ให้มีประสิทธิภาพอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้เสมอ และติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อให้น้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิตได้รับการบำบัดก่อนปล่อยลงสู่ระบบระบายน้ำสาธารณะ และสามารถหมุนเวียนน้ำกลับมาใช้ใหม่

เป้าหมาย
ลดการใช้น้ำในกระบวนการผลิตและระบบ Utility จากการนำน้ำหลังผ่านการบำบัดมาใช้ โดยคิดเป็น 5% หรือ 4,931 ลูกบาศก์เมตรต่อปี (m3/year) จากปีฐาน 2564
ตั้งเป้าลดการใช้น้ำในระบบสุขาภิบาล ด้วยทีมบริหารจัดการน้ำในสำนักงานควบคู่กับการนำเทคโนโลยีมาใช้ตรวจติดตาม (Monitor Instrument) โดยภายในปี 2568 จะลดการใช้น้ำลง 10% หรือ 2,629 ลูกบาศก์เมตรต่อปี (m3/year) จากปีฐาน 2564

ปี 2564 ปริมาณการใช้น้ำประปาสามารถควบคุมได้ใกล้เคียงปีที่ผ่านมา (ปี 2564: 113,062 m3 /ปี 2563: 113,216 m3) โดยกำลังการผลิตมากกว่าเดิมเล็กน้อยและมีการนำน้ำหลังผ่านการบำบัดมาใช้ใกล้เคียงเดิม (ปี 2564: 8,974 m3 /ปี 2563: 9,188 m3) ในส่วนการบริหารจัดการน้ำได้มีการจัดตั้งทีมดูแลและมีการติดตั้งมิเตอร์เพิ่มเพื่อตรวจวัด ติดตามการใช้งาน และหามาตรการควบคุมซึ่งจะเริ่มเห็นผลประหยัดในปีถัดไป

บริษัทฯ มีความประสงค์ที่จะอยู่ร่วมกับชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน ในการสร้างและสนับสนุนให้เกิดธุรกิจรักษ์สิ่งแวดล้อม และมีความรับผิดชอบต่อสังคม จึงเป็นที่มาของนโยบายการจัดการของเสียขององค์กร เพื่อเป็นแนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารจัดการของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต โดยใช้แนวทางการจัดการของเสียตามหลัก 3Rs (Re-use/ Reduce/ Recycle) โดยตั้งเป้าหมายในการเพิ่มปริมาณการใช้ประโยชน์ของเสียจากกระบวนการผลิตจากปีฐาน 2564 ให้ได้ 98% ภายในปี 2568

ในปี 2564 สัดส่วนของเสียอันตรายที่ดำเนินด้วยวิธีการนำกลับมาใช้ซ้ำหรือใช้ใหม่ คิดเป็น 97.72% และสัดส่วนของเสียไม่อันตรายที่ดำเนินด้วยวิธีการนำกลับมาใช้ซ้ำหรือใช้ใหม่ คิดเป็น 97.94% บริษัทฯ จัดการของเสียจากกระบวนการผลิตด้วย

1
การคัดแยกเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อ
2
เข้ากระบวนการนำตัวทำละลายกลับมาใหม่
3
นำกลับมาใช้ประโยชน์ด้วยวิธีล้างและนำกลับมาใช้ใหม่
4
ทำเชื้อเพลิงผสม

บริษัทฯ ดำเนินตามมาตรฐานการจัดการด้านมลภาวะทางอากาศ เพื่อป้องกันผลกระทบด้านฝุ่นละอองและมลพิษในอากาศที่ระบายออกจากบริษัทฯ การให้ความสำคัญตั้งแต่การสรรหาเครื่่องจักรอุุปกรณ์ตลอดกระบวนการผลิต โดยคัดเลือกเทคโนโลยีที่สะอาดเพื่อป้องกันการเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งการบำรุงรักษาเครื่องจักรอุุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ มีการติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไปภายในพื้นที่ประกอบอุุตสาหกรรม และเครื่องมือตรวจวัดคุณภาพอากาศบริเวณปลายปล่องระบายอากาศ (Stack Emission)

เป้าหมายการจัดการมลพิษอากาศ ปี 2564 เป้าหมาย 3 ปี
(2565 – 2568)
Xylene (เฉพาะโรงงานบางนา) 2.93 ppm ลดลง 3%
Total VOCs (เฉพาะโรงงานบางนา) 16.5 ppm ลดลง 3%
การร้องเรียนจากชุมชนโดยรอบ 0 ครั้ง 0 ครั้ง
จำนวนครั้งที่ไม่ผ่านเกณฑ์ตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด 0 ครั้ง 0 ครั้ง